9/27/2560

สมาชิกการัดการ60 ห้องB

สมาชิกในชั้นเรียน
           อาจารย์ ธภัทร       ชัยชูโชค         อาจาร์ยปาล์ม
1. นายเกียรติศักดิ์             เกตุอักษร       ไฟท์
2. นายจรณะ                     แท่งทอง         เปา
3. นางสาวเฉลิมพร           ศรีมณี              เจล
4. นายชาติศีริ                   รัตนชู               ติ๊บ
5. นายชินวัฒร์                  เพ็ชรโสม         แมน
6. นายณฐกร                    ชัยปาน             โจ
7. นายณัฐกร                    สงสม                จ๊อบ
8. นายณัฐพล                   วงค์สุขมนตรี     เกมส์
9. นางสาวทัศนีย์วรรณ     กาญจโนภาส     สา
10. นายธัณวัตร์                แก้วบุษบา          ธัน
11. นายนราธร                  จันทรจิตร           เนม
12. นางสาวนิชาภัทร        เพ็ชรวงค์            แอม
13. นางสาวเบญญทิพย์   ฆังคสุวรรณ         อ้าย
14. นางสาวปัถยา             บุญชูดำ              ปัด
15. นายพศวัต                  บุญแท่น             อ๊อฟ
16. นางสาวแพรพลอย     พรหมประวัติ      แพรรี่
17. นายไฟซ้อล                ประชานิยม        ซ้อล
18. นายภูมิภัทร์                สรรนุ่ม               อ้วน
19. นายยศกร                   บัวดำ                 ทาย
20. นายสาวรัฐชา             วงค์สุวรรณ         เบญ
21. นายเรืองศักดิ์             ใหม่แก้ว             เอ็ม
22. นาวสาววลีพร             ลิขิตธีระกุล        นุ๊ก
23. นายวาทิศ                   อินทร์ปราบ       เบนซ์ขายยา
24. นางสาววิภารัตน์         ดำสุข                ออม
25. นางสาวศศิธร             ชูปาน                จูน
26. นายศุภกิจ                  ติเสส                 ดุกดิ๊ก
27. นายเศรณฐชัย           ฐินะกุล               ตาล
28. นายสราวุธ                 จันทร์แก้ว           ฟิมล์
29. นายสุชาครีย์              งามศรีตระกูล     แป๊ะ
30. นายสุริยา                  หวันสะเม๊าะ        ดิ่ง
31. นายอนันต์                 อาแว                  บังเถื่อน
32. นายอนุวัช                 นุ่นเอียด             กอล์ฟ
33. นายอภิชัย                 เสวาริท               บอล
34. นางสาวอรอุมา         หมากปาน           ญาญ่าตูเร่   

9/13/2560

ระบบ AS/RS

ระบบ AS/RS

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System AS/RS)  คือ  การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
- Unit Load AS/RS
- Miniload AS/RS
- Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
- Automated Item Retrieval System
- Deep-Lane AS/RS
 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
1. โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
2.  เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
3.  หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
4.  สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)
อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
1.      รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
2.      อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
3.      สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
4.      สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)



การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.      จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
2.      หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
3.      ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
1.      ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
2.      สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
3.      ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
4.      สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
5.      ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
6.      สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

ระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS)                      คือ ระบบบริหาร การจัดเก็บสินค้า เก็บวัตถุอัตโนมัติ เหมาะกับบริษัทที่ต้องการลดการใช้งานพื้นที่ หรือต้องการเพิ่ม ปริมาณในการจัดเก็บมากขึ้น เช่น คลังสินค้า, โกดังสินค้า, อาคารจอดรถอัตโนมัต, ห้องเก็บสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น


ระบบ AS/RS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่
ประโยชน์ที่จะได้รับ
ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า





9/06/2560

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม

โครงสร้างตัวหุ่นยนต์ (Robot Structure)

จากตอนที่แล้วผมได้เกริ่นนำเกี่ยวกับเรื่องของระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้กับทุกๆ ท่านทราบแล้วนะครับว่าสถานการณ์ในปัจจุบันนั้นกำลังมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตเองก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดธุรกิจ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่นำมาช่วยในกระบวนการผลิตจึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีเครื่องจักกลอัตโนมัติที่สำคัญเลยทีเดียว และในตอนที่ 2 จะเป็นการแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะสามารถโปรแกรมการทำงานของมันได้ นั่นก็คือ โครงสร้างของตัวหุ่นยนต์และลักษณะการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์นั่นเอง ทั้งนี้ จากที่ทุกท่านทราบกันแล้วนะครับว่าองค์ประกอบของระบบการควบคุมหุ่นยนต์พื้นฐานนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน ประกอบด้วย
  1. ตัวหุ่น หรือ Robot Boy หรือ Manipulator
  2. อุปกรณ์ควบคุมหุ่นและโปรแกรมหุ่น (Programming Pendent)
  3. Controller & Amplifier Set
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเนื่องจากการควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์หรือการโปรแกรมหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้นั้น จะต้องมีความรู้ในข้อมูลที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่สำคัญของตัวหุ่นยนต์ด้วยจึงจะสามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ได้อย่างถูกต้อง สำหรับตอนนี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดในส่วนขององค์ประกอบตัวแรก คือ ‘ตัวหุ่นยนต์

โครงสร้างตัวหุ่นยนต์

ตัวหุ่นยนต์ (Robot Body / Manipulator) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเวลาที่เราจะพิจารณาเลือกใช้หุ่นยนต์สักตัวเพื่อทำมาใช้ช่วยในกระบวนการผลิตจะต้องคำนึงถึงลักษณะของงาน พื้นที่ สิ่งแวดล้อม เนื่องจากตัวหุ่นยนต์นั้นเป็นส่วนที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งลักษณะงานที่แตกต่างกันก็จะเป็นตัวบ่งบอกในเรื่องของขนาดโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ด้วย ซึ่งตรงนี้หลายๆ ท่านอาจนึกภาพออก ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคน หากคนที่ตัวเล็กอาจยกของได้น้อยกว่าคนตัวใหญ่นั่นเอง ดังนั้น เราจึงต้องมาศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวหุ่นยนต์ก่อนว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพราะหากเราไม่ทราบเราก็จะไม่สามารถโปรแกรมหุ่นยนต์ให้ทำงานได้ ที่สำคัญ คือ เราจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องอีกด้วย


หุ่นยนต์งานเชื่อมกระบวนการเชื่อมอัตโนมัติ

กระบวนการเชื่อมที่ใช้ในงานก่อสร้าง ท่อลำเลียงก๊าซธรรมชาติระยะทางไกลๆ ที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศและข้ามประเทศนำมาสู่ที่พักอาศัยเพื่อใช้สำหรับการประกอบอาหาร และให้ความร้อนก็มีการเชื่อม ท่อสำหรับลำเลียงน้ำมันและอีกมากมาย ดังนั้นกระบวนการเชื่อมจึงนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการทำงานด้วยทั้งสิ้น
หุ่นยนต์งานเชื่อมกระบวนการเชื่อมอัตโนมัติกระบวนการเชื่อมเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในงานก่อสร้างท่อลำเลียงก๊าซธรรมชาติระยะทางไกลๆที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศและข้ามประเทศนำมาสู่ที่พักอาศัยเพื่อใช้สำหรับการประกอบอาหารและให้ความร้อนก็มีการเชื่อม ท่อสำหรับลำเลียงน้ำมัน หัวเจาะเพื่อสำรวจผลิตภัณฑ์น้ำมันปิโตรเลียม
แท่นขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในมหาสมุทร หอถังเหล็กเก็บน้ำสำเร็จรูป ถังเก็บน้ำมันใต้ดิน
สะพานที่มีขนาดความยาวมากๆรวมถึงตึกที่สูงที่สุดในโลกก็มีการเชื่อม  ดังนั้นกระบวนการเชื่อมจึงนับได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการทำงานด้วยทั้งสิ้น
เมื่อเทียบกับเครื่องจักรกลต่างๆ เช่น การตีขึ้นรูป การปั๊มขึ้นรูป และการหล่อ เพราะงานโลหะเกือบทุกชนิดจะต้องมีขั้นตอนสุดท้ายก็คือ กระบวนการเชื่อม รวมทั้งงานที่มิใช่โลหะก็ยังสามารถใช้กระบวนการเชื่อมได้เช่นกัน เพราะการต่อโลหะเข้าด้วยกันได้ดีที่สุดนั้น คือ กระบวนการเชื่อมที่ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงพบว่ากระบวนการเชื่อมจึงมีการใช้งานเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับโลหะทั่วไปในทุกๆ ที่และทุกๆ สถานที่ แต่มนุษย์ยังมีขีดจำกัดในการทำงานซ้ำๆ กันให้ได้ผลดีสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องในระยะเวลานาน งานเชื่อมมีลักษณะเฉพาะของงาน ซึ่งเมื่อช่างเชื่อมดำเนินการไปเป็นระยะเวลานาน ช่างเชื่อมจะเกิดความเมื่อยล้าทางกาย และความเครียดทางประสาท ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนความชำนาญของช่างเชื่อม ด้วยเหตุนี้เองกระบวนการเชื่อมจึงมีวิวัฒนาการเป็นแบบอัตโนมัติ เพื่อให้การควบคุมรอยเชื่อมของช่างเชื่อมง่ายขึ้นและเกิดรอยเชื่อมซึ่งมีคุณสมบัติตามความต้องการอย่างสม่ำเสมอ
ในทุกๆ วันนี้กระบวนการเชื่อมประสานโลหะด้วยไฟฟ้า ได้ถูกพัฒนารูปแบบเป็นไปในระบบกระบวนการเชื่อมแบบอัตโนมัติโดยแรกเริ่มวิธีการนี้เป็นที่รู้จักกันในวงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ที่นำมาประยุกต์จนประสบความสำเร็จ ปัจจัยหนึ่งของส่วนอื่นๆ ที่เป็นจุดเด่นและสำคัญที่สุด คือ ค่าแรงของแรงงาน  ก็คือ  คนงานที่กำลังมีปัญหาเกิดขี้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ค่าแรงงานมีผลต่อการนำไปรวมกับงานเชื่อมด้วย


ความเป็นมาและชนิดของหุ่นยนต์งานเชื่อม
หุ่นยนต์ได้รับความสนใจจากโลกภาพยนตร์ เรื่อง สตาร์วอร์ (Star Wars) ที่มี R2D2 (อาทูดีทู) และเพื่อนสนิท C3PO (ซีทีพีโอ) โดยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีความหลากหลาย สำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรุ่นแรกที่เสร็จสมบูรณ์ที่ได้จดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ซึ่ง จอร์จ ซี ดีโวท์ (George C Devol) โดยเขาได้ทำการผสมผสานของแขนกลระหว่างการแสดงผลงานทางเทคโนโลยีของการควบคุมตัวเลข จึงเรียกอุปกรณ์นี้ว่า อุปกรณ์ควบคุมโปรแกรม” (Program-Controlled Equipment) โดยมี โจเซฟ เอฟ เอนเจลเบอร์เกอร์ (Joseph F. Engelberger) ทำงานร่วมกับ ดีโวท์ (Devol) ต่อมาโจเซฟ เอฟ เอนเจลเบอร์เกอร์ ได้เป็นที่รู้จักว่าเป็น บิดาของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในการคิดการเคลื่อนที่และยังสนับสนุนความคิดตลอดจนยังให้ชื่อมันว่า หุ่นยนต์” (Robot) ซึ่งมีพื้นฐานมาจากภาษาเชก (เชกโกสโลวาเกีย : Czech) ที่มีคำว่า โรบ็อทตา” (Robota) โดยมีความหมายว่า ผู้ใช้แรงงาน (Forced Labor) ในปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) คาเรล คาเปก (Karel Capek's) ได้เขียนบทละครล้อการเมืองเรื่อง รอสซูมิ ยูนิเวอร์ซัล โรบ็อท (Rossum’s Universal Robots) RUR โดยสามารถตีความตามความหมายว่า ใช้แรงงานอย่างกับทาส


หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นเครื่องจักรที่มีการควบคุมแบบอัตโนมัติ สามารถใช้โปรแกรมใหม่ได้ ใช้งานได้เอนกประสงค์และมีระดับความอิสระในการเคลื่อนที่หลายๆ แกน หรือการเคลื่อนที่แตกต่างกันเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนขององศาอิสระหรือระดับความอิสระในการเคลื่อนที่ (Degrees of Freedom : DOF) คือ มีความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ในทิศทางใดๆ ซึ่งอาจจะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อาจอยู่ประจำที่หรือเคลื่อนที่เร็ว เพื่อสำหรับนำไปใช้ในวงการอุตสาหกรรมอัตโนมัติ
โดยส่วนมากใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีการเคลื่อนที่ในลักษณะของการเคลื่อนที่เหมือนกัน โปรแกรมได้ถูกบรรจุใส่เข้าไว้ในอุปกรณ์ของหน่วยความจำและยังสามารถปฏิบัติย้อนกลับได้ในระหว่างการปฏิบัติงานได้ต่อเนื่องกัน การย้อนกลับใช้ควบคุมพลังงานเพื่อการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ทำงานหรือตัวกระตุ้น โดยจัดให้มีการเคลื่อนที่ 3 มิติ อุปกรณ์ย้อนกลับจะแสดงถึงหน่วยความจำของคำสั่งในการปฏิบัติงานตามลำดับ ชุดของหน่วยความจำจะประเมินถึงค่าของสัญญาณย้อนกลับและการเคลื่อนที่ไปสู่ขั้นตอนต่อไปของโปรแกรม โดยปรกติหุ่นยนต์น็อนเซอร์โวของการเคลื่อนที่แบบจุดต่อจุดหรือจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง  ใช้หน่วยความจำอย่างง่ายเพื่อจัดอันดับของการปฏิบัติงานของลำดับย้อนกลับ โดยพลังงานของการย้อนกลับถูกส่งไปตามทิศทางและตรวจจับสัญญาณย้อนกลับจนกระทั่งสามารถแสดงถึงตำแหน่งของขอบเขตโดยเฉพาะ ในที่สุดการปฏิบัติตามคำสั่งสามารถทำให้สำเร็จได้ ด้วยหน่วยความจำที่ได้ทำไปตามขั้นตอนต่อไปและกระบวนการนี้สามารถทำวนซ้ำจนกระทั่งถึงขั้นตอนทั้งหมดของลำดับที่ทำได้สำเร็จสมบูรณ์ ชุดหน่วยควบคุมเซอร์โว  จะมีเส้นทางแบบต่อเนื่องกับหุ่นยนต์ที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงเกณฑ์มาตรฐานของเวลา โดยปรกติจะเป็นเวลา 60 ครั้งต่อวินาที ชุดเหล่านี้ได้บ่งชี้ถึงของการเคลื่อนที่แบบจุดต่อจุดหรือจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งได้อย่างราบเรียบและรวดเร็ว โดยปรกติชุดหน่วยควบคุมเซอร์โว จะมีเส้นทางแบบต่อเนื่องกับหุ่นยนต์ที่ถูกสอนด้วยเวลาจริงๆ เพื่อสำหรับนำทางในการเคลื่อนที่ และการเริ่มต้นของโปรแกรมยังสามารถทำการแก้ไขเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นได้ ระบบควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์พื้นฐานนี้มีความสามารถปฏิบัติตามการคำนวณของข้อมูลที่เข้ามาซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหุ่นยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ไฟฟ้าจะใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนเป็นแบบเซอร์โวมอเตอร์  ที่อยู่บนแกนของแต่ละแกน ชุดหน่วยควบคุมหุ่นยนต์สามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ คือ ชุดหน่วยควบคุมเซอร์โว หรือ ชุดหน่วยควบคุมน็อนเซอร์โว  และชุดหน่วยควบคุมเซอร์โวหุ่นยนต์สามารถแยกเป็นชุดหน่วยควบคุมการเคลื่อนที่แบบจุดต่อจุดหรือจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งหรือชุดหน่วยควบคุมเซอร์โวจะมีเส้นทางแบบต่อเนื่อง




สมาชิกการัดการ60 ห้องB

สมาชิกในชั้นเรียน            อาจารย์ ธภัทร       ชัยชูโชค         อาจาร์ยปาล์ม 1. นา ยเกียรติศัก ดิ์             เกตุอักษร        ไฟท์ 2...